หัวข้อ : การแพร่พันธุ์ของกาฝาก
ข้อความ : ข่าวสารชมรมเบิร์ดไลฟ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 เมษายน-มิถุนายน 2544 หน้า 4-6
นกกับต้นไม้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมาเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 160,000,000 ปีแล้ว เพราะนกชนิดแรกของโลก คือ อาร์คีออพเทริกซ์ (Archaeopteryx)ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก โดยวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่งที่ขึ้นไปอาศัยและหากินอยู่บนต้นไม้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต้นไม้ก็ให้ที่พักอาศัย หลบแดด หลบฝน และที่หลับนอน และที่ทำรังวางไข่แก่นกหลายชนิด
ต้นไม้ยังเป็นที่อยู่อาศัยและหากินของหนอน แมลง และสัตว์เล็กๆอื่นๆซึ่งเป็นอาหารของนกต่างๆ และยังออกดอกออกผลให้นกหลายชนิดได้ดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้และกินเนื้อผลไม้เป็นอาหาร ต้นไม้จึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับนก จึงมีคุณค่ามากมายมหาศาลแก่นกนานาชนิด
นกมีคุณประโยชน์ต่อต้นไม้มากพอๆกัน นกช่วยกำจัดหนอน แมลง และสัตว์เล็กๆอื่นๆที่เข้ามารบกวนกัดกินใบไม้และเนื้อไม้ ปีหนึ่งๆศัตรูพืชเหล่านี้นับล้านๆตัวถูกทำลายลงโดยนกนานาชนิด ทั้งนี้เพราะนกกินแมลงตัวหนึ่งๆ ต้องใช้อาหารประเภทโปรตีนในวันหนึ่งๆ มากกว่าน้ำหนักตัวของมันเสียอีก เนื่องจากนกเป็นสัตว์ไม่อยู่สุข ต้องกระโดดหรือบินไปไหนมาไหนอยู่ตลอดเวลา ทำให้สูญเสียพลังงานไปมาก จึงจำเป็นที่จะต้องหาอาหารประเภทโปรตีนมาชดเชยให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย
นกยังให้ประโยชน์แก่ต้นไม้โดยการช่วยแพร่พันธุ์ต้นไม้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้เพราะนกที่กินผลไม้ เช่น นกเงือก นกขุนทอง นกโพระดก และนกเปล้า กินผลไม้เข้าไปทั้งผลรวมทั้งเมล็ดด้วย แต่เมล็ดผลไม้นั้นย่อยไม่ได้ จึงถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลของนก เมื่อนกไปถ่ายมูลไว้ที่ใดเมล็ดผลไม้จึงงอกขึ้นที่นั่น ทำให้ต้นไม้แพร่พันธุ์ไปอยู่ ณ ที่ต่างๆได้
ด้วยเหตุนี้ นกจึงมีส่วนช่วยในการปลูกป่าเป็นอย่างมาก ป่าละเมาะบางแห่งที่เต็มไปด้วยต้นตะขบบ้าน ต้นมะขามเทศ ต้นกระถิน หรือต้นก้างปลา ล้วนเกิดจากการปลูกของนกทั้งสิ้น ทางด้านตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา มีป่าต้นโอ๊คขาวอันกว้างใหญ่ อย่างไม่ต้องสงสัย ป่าแห่งนี้ถูกปลูกขึ้นโดยนกเช่นกัน และนกที่ปลูกป่าแห่งนี้ คือ นกบลูเจ (Blue Jay ;Cyanocitta cristata) ซึ่งเป็นนกในวงศ์อีกา (Family Corvidae) กาฝาก พืชเบียนบนคาคบไม้
กาฝาก (Mistletoe) พืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae ในอันดับ Santalales ก็เช่นเดียวกับต้นไม้ที่มีผลเหล่านั้น ต้องอาศัยนกเป็นผู้แพร่พันธุ์ให้ แต่ที่แตกต่างไปจากต้นไม้เหล่านั้นก็คือ ถ้าหากขาดนกแล้วต้นกาฝากไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเอง มันจะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด นอกจากกาฝากจะต้องพึ่งพานกในการช่วยแพร่พันธุ์แล้ว กาฝากยังต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิตอีกด้วย เพราะมันมิได้เกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่นๆ
กาฝากเป็นพืชที่มีเนื้อไม้แข็ง มีใบเขียวชอุ่ม และผลัดใบตามฤดูกาล จากลักษณะของลำต้น กาฝากเป็นไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านสาขามากมาย มีใบเป็นใบเดี่ยวที่ติดเรียงแบบตรงกันข้าม (opposite) ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวหนา บางชนิดมีใบกว้าง แต่บางชนิดมีใบแคบ
ต้นกาฝากจะขึ้นงอกงามอยู่บนต้นไม้อื่นราวกับว่ามันเป็นกิ่งก้านของต้นไม้ต้นนั้น ดูเผินๆแล้วสวยแปลกตาดี โดยเฉพาะในเวลาที่ต้นกาฝากออกดอกเต็มต้น เพราะดอกกาฝากมีสีสวยเป็นสีแดง หรือสีส้ม ในเวลาที่ออกดอกเต็มต้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มันเกาะกินอยู่ดูแดงดูส้มไปด้วย ช่วยเพิ่มสีสันให้กับต้นไม้ในป่า แต่ถ้าต้นไม้ต้นใดมีต้นกาฝากขึ้นงอกงามอยู่มากเกินไป ต้นไม้ต้นนั้นจะเฉาลงหรือไม่สมบูรณ์ และอาจตายลงได้ เมื่อต้นไม้ต้นนั้นตายลง ต้นกาฝากต้นนั้นก็ต้องตายลงเช่นกัน
ในช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม ต้นกาฝากจะออกดอกออกผล ซึ่งล่อใจเหล่านกที่ชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้และเนื้อผลไม้ให้เข้ามาเยี่ยมเยียน ราวกับว่าต้นกาฝากคือ ภัตตาคารชั้นดี ดอกกาฝากมีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อที่ติดกันเป็นกลุ่ม(dichasium) ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก เมื่อนำดอกกาฝากมาพิจารณาดู จะเห็นว่า ดอกกาฝากมีกลีบเรียงเป็น 2 วงชั้น กลีบใน (petal) มี 2-3 กลีบ กลีบนอก (sepal) มี 2-3 กลีบเช่นกัน กลีบดอกอาจแยกกัน หรือติดกันที่โคนกลีบกลายเป็นหลอดก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก
กาฝากบางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน จึงผสมเกสรกันเองได้ แต่กาฝากบางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่กันคนละดอกแต่อยู่บนต้นเดียวกัน แต่กาฝากบางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่กันคนละดอกและคนละต้นด้วย จึงต้องอาศัยนกที่ดูดกินน้ำหวานจากดอกกาฝาก เช่น นกกินปลี (Sunbird) และนกเขียวก้านตอง (Leafbird) ช่วยผสมเกสรให้ จึงจะติดผลได้
ในขณะที่นกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในกรวยดอกกาฝาก ละอองเกสรตัวผู้จะติดตามปากและขนบริเวณหน้าผากของนก เมื่อนกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในดอกกาฝากดอกอื่น ละอองเกสรตัวผู้จึงร่วงหล่นและผสมกับเกสรตัวเมียในดอกกาฝากดอกนั้น ทำให้กาฝากต้นนั้นติดผลได้ ในทางชีววิทยาถือว่าเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างนกกับต้นกาฝากแบบชั่วคราว (mutualism without continuous contact)
ผลของกาฝากมักมีสีขาว มีเปลือกเหนียว หรือแข็ง ภายในมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งมีเมือกเหนียวๆห่อหุ้มไว้ เมือกเหนียวๆ นี้เองที่ทำให้เมล็ดกาฝากเกาะติดอยู่บนกิ่งไม้ได้นานๆและเหนียวแน่น จนกว่าจะงอกเป็นต้นกาฝากเล็กๆ มีรากเจาะดูด (haustoria) แทงเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้ได้
อย่างไรก็ดี เมล็ดกาฝากไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เอง ถ้าหากผลสุกจนแก่จัด จะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ถึงจะร่วงหล่นลงบนกิ่งไม้บ้าง แต่ผลนั้นยังมีเนื้อผลไม้หุ้มเมล็ดอยู่ จึงไม่มีวันที่เมล็ดกาฝากจะไปติดอยู่ตามกิ่งไม้ต่างๆได้เลย นอกจากจะอาศัยนกเท่านั้น เพราะนกจะกินผลกาฝากเข้าไปเป็นอาหาร แล้วถ่ายเมล็ดกาฝากออกมาพร้อมกับมูลของมัน นกที่ช่วยแพร่พันธุ์ให้กับต้นกาฝาก คือ นกกาฝาก (Flowerpeckers) นั่นเอง นกกาฝาก ผู้ช่วยแพร่พันธุ์ต้นกาฝาก
นกกาฝาก เป็นนกขนาดเล็ก มีขนาดพอๆกับนกกินปลี แต่เดิมนักสัตวศาสตร์เคยจัดนกกาฝากไว้ในวงศ์ Dicaeidae แต่ในปัจจุบัน จากการวิเคราะห์ทางชีวเคมี โดยการตรวจ ดีเอ็นเอ (DNA) ทำให้นักปักษีวิทยาทราบว่า นกกาฝากมีเชื้อสายใกล้ชิดกับนกกินปลีมากกว่านกในวงศ์ใด จึงได้จัดนกกาฝากไว้ในวงศ์เดียวกับนกกินปลี คือ วงศ์ Nectariniidae แต่แยกนกกาฝากไว้ในเหล่า Dicaeini ซึ่งแยกออกได้เพียง 2 สกุล เท่านั้น สกุล Prionochilus มี 6 ชนิด ซึ่งพบในประเทศไทย 3 ชนิด และสกุล Dicaeum มี 38 ชนิด ซึ่งพบในประเทศไทย 7 ชนิด
นักดูนกคงจะรู้จักนกกาฝากกันดี โดยเฉพาะนกสีชมพูสวน(Scarlet-backed Flowerpecker; Dicaeum cruentatum) ซึ่งเป็นนกกาฝากชนิดเดียวที่พบในกรุงเทพฯ มันมีรูปร่างป้อมๆ คอสั้น ปากสั้น และสันปากบนโค้งลงเล็กน้อย ถ้ามองจากทางด้านบนจะเห็นว่าโคนปากของมันกว้างคล้ายรูปสามเหลี่ยม แต่ถ้านำแว่นขยายมาส่องดูที่ปากของมัน จะเห็นว่าตอนปลายปากประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปาก ทั้งปากบนและปากล่าง ที่ขอบปากจะหยักเป็นฟันเลื่อย แต่เล็กมาก มีประโยชน์ในการคาบผลกาฝากและผลไม้เล็กๆอื่นๆเพื่อปลิดออกจากกิ่ง
ปีกของนกกาฝากค่อนข้างสั้น และปลายปีกมนกลม ขนปลายปีก (primaries) มี 10 เส้น หางสั้นจุนจู๋และปลายหางตัดตรง ประกอบด้วยขนหาง 12 เส้น มันมีขาสั้นและนิ้วเท้าเล็ก แต่แข็งแรงดี
ลิ้นของนกกาฝากสั้น แต่ว่าปลายลิ้นมีลักษณะพิเศษ ซึ่งเปลี่ยนไปให้เหมาะกับการใช้ดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้ เพราะตอนปลายของลิ้นนั้น ขอบทั้งสองข้างของลิ้นจะม้วนเข้าเป็นหลอด 2 หลอด คล้ายกับลิ้นของนกกินปลี ด้วยเหตุนี้มันจึงชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้เช่นเดียวกับนกกินปลี แต่ชอบกินน้ำหวานจากดอกกาฝากมากกว่า
ในเวลาที่ต้นกาฝากออกดอก นกกาฝากจึงชอบบินเข้าบินออกจากกอกาฝาก เพื่อคอยดูดกินน้ำหวานจากดอกกาฝาก แต่มันก็ชอบจิกกินแมลงตัวเล็กๆตามกิ่งก้านและใบกาฝากด้วย ชาวผิวขาวเรียก นกกาฝาก ว่า Flowerpecker ซึ่งแปลว่า ผู้จิกดอกไม้ เพราะว่ามันชอบใช้จะงอยปากแหย่ลงไปดูดกินน้ำหวานในดอกไม้ และจิกกินแมลงตัวเล็กๆในกรวยดอกไม้นั่นเอง
ถึงแม้นกกาฝากจะกินน้ำหวานจากดอกไม้และแมลง แต่อาหารโปรดของมันคือ ผลกาฝาก ในเวลาที่ต้นกาฝากออกผล นกกาฝากจึงพากันมาป้วนเปี้ยนอยู่ในกอกาฝาก และบินเข้าบินออกจากกอกาฝากเป็นว่าเล่น เพื่อจิกกินผลของกาฝาก ซึ่งส่วนมากนกกาฝากจะกลืนกินผลกาฝากเข้าไปทั้งผล เนื้อนิ่มๆรอบๆเมล็ดจะถูกย่อยเป็นอาหารของนก แต่เมล็ดกาฝากซึ่งไม่ถูกย่อย จะถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลของนก
เนื่องจากเมล็ดกาฝากมียางเหนียวๆคลุมไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้นกกาฝากถ่ายมูลซึ่งมีเมล็ดกาฝากออกมาได้ยากมาก และนกกาฝากเองก็รู้สึกรำคาญอีกด้วย ในเวลาถ่ายมูล มันจึงต้องทำก้นกระดกต่ำๆซ้ำๆกันหลายๆครั้ง ราวกับว่าจะเช็ดก้นของมันกับกิ่งไม้ จึงทำให้เมล็ดกาฝากที่ถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลของนก ติดอยู่ตามกิ่งไม้ ซึ่งในเวลาต่อมา จะเจริญงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ต้นกาฝากจึงแพร่พันธุ์ไปได้เรื่อยๆ เพราะนกกาฝากช่วยแพร่พันธุ์ให้นั่นเอง แต่นกกาฝากก็ได้น้ำหวานจากดอกกาฝากและผลกาฝากเป็นอาหาร เป็นการตอบแทน มันจึงมีอาหารโปรดของมันอยู่เรื่อยๆโดยไม่อดอยาก เพราะมันช่วยสร้างแหล่งอาหารให้กับตัวของมันนั่นเอง นกกาฝากและต้นกาฝากจึงต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจนตลอดชีวิต ถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องสูญพันธุ์ไป ในทางชีววิทยา เรียกความสัมพันธ์ประเภทนี้ว่า การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบถาวร (mutualism with continuous contact)
ถึงแม้ว่านกกาฝากหลายชนิดจะชอบกินผลกาฝาก แต่วิธีกินผลกาฝากของนกกาฝากแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปากของนก นกกาฝากใน สกุล Prionochilus ซึ่งพบในประเทศไทย 3 ชนิด แต่ชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ นกกาฝากอกเหลือง (Yellow-breasted Flowerpecker; P. maculatus) นั้น มีปากค่อนข้างหนา มันจึงกินผลกาฝาก โดยใช้ปากปลิดผลกาฝากให้หลุดออกจากกิ่ง แล้วค่อยๆขยับปากบีบผลกาฝากให้เมล็ดกาฝากแยกออกจากเนื้อนิ่มๆรอบๆเมล็ด แล้วจึงกลืนกินเฉพาะเนื้อของผลกาฝาก
สำหรับเมล็ดกาฝากซึ่งมียางเหนียวๆหุ้มอยู่ จะยังคงติดอยู่ที่ปากของนก ซึ่งนกจะต้องเอาปากของมันไปป้ายกับกิ่งไม้เพื่อให้เมล็ดกาฝากนั้นหลุดออกจากปาก เมล็ดกาฝากที่ติดอยู่ที่กิ่งไม้นั้น ในเวลาต่อมาจะงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นต่อไป
นกกาฝากใน สกุล Dicaeum ซึ่งพบในประเทศไทย 7 ชนิดนั้น ส่วนใหญ่จะมีปากบอบบาง จึงต้องกลืนกินผลกาฝากเข้าไปทั้งผล ยกเว้นนกกาฝากบางชนิด เช่น นกกาฝากปากหนา (Thick-billed Flowerpecker; D. agile) ซึ่งมีปากหนาสมชื่อ จะใช้ปากบีบผลกาฝากเพื่อแยกเมล็ดกาฝากออกจากเนื้อรอบๆเมล็ด แล้วกลืนกินเฉพาะเนื้อรอบๆเมล็ดเช่นเดียวกับนกกาฝากใน สกุล Prionochilus
เนื่องจากนกกาฝากเลี้ยงชีวิตด้วยผลกาฝาก กระเพาะส่วนท้าย (gizzard or ventriculus) จึงอยู่ค่อนไปทางด้านข้าง และมีกล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ปิดเปิดช่องทางผ่านด้วย เพื่อให้ผลกาฝากที่นกกาฝากกลืนเข้าไปผ่านจากหลอดอาหารไปยังลำไส้โดยตรง ไม่ต้องผ่านกระเพาะส่วนท้าย จึงทำให้นกกาฝากสามารถย่อยเนื้อผลกาฝากและถ่ายเมล็ดกาฝากออกมาได้รวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ถ้านกกาฝากกินแมลงหรือแมงมุมเข้าไปบ้าง แมลงหรือแมงมุมนี้ จะผ่านเข้าไปในกะเพาะส่วนท้ายเพื่อย่อยเสียก่อน แล้วนกจึงสำรอกเปลือกของแมลงหรือแมงมุมที่ย่อยไม่ได้ออกมาเป็นก้อนเล็กๆทางปาก
ถึงแม้ว่าน้ำหวานจากดอกกาฝากและเนื้อนิ่มๆรอบผลกาฝากจะเป็นแหล่งน้ำตาล (glucose) ที่ย่อยง่ายที่สำคัญยิ่งของนกกาฝาก เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายของนกกาฝากเป็นอย่างมากก็ตาม แต่นกกาฝากก็จำเป็นต้องกินน้ำหวานและผลของพืชชนิดอื่นๆบ้าง และยังต้องกินแมลงต่างๆ เช่น เพลี้ยแป้ง (aphis) และเพลี้ยกระโดด (leafhopper) รวมทั้งแมงมุมด้วย เพื่อเพิ่มโปรตีนให้กับร่างกาย นกเฟนโนเพพล่า ผู้แพร่พันธุ์กาฝากในสหรัฐอเมริกา
ในทวีปอเมริกาเหนือ ในประเทศสหรัฐอเมริกาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย แม้ว่าจะมีต้นไม้อยู่น้อยต้นและน้อยชนิดด้วย แต่ก็มีต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้เหล่านี้เหมือนกัน แต่นกที่ช่วยแพร่พันธุ์ให้กับต้นกาฝากเหล่านี้ไม่ใช่นกกาฝาก เพราะนกกาฝากแพร่กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตอนใต้เรื่อยไปจนถึงทวีปออสเตรเลียเท่านั้น แต่เป็นนกเฟนโนเพพล่า (Phainopepla; Phainopepla nitens) ซึ่งเป็นนกในวงศ์ Bombycillidae
นกเฟนโนเพพล่านี้มีขนทั่วทั้งตัวเป็นสีดำปนน้ำเงินเป็นมันเงางาม และมีขนหงอนตั้งชันขึ้นคล้ายๆกับขนหงอนของนกปรอดเหลืองหัวจุก (Black-crested Bulbul) ด้วย มันชอบกินผลกาฝากเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับนกกาฝาก โดยจะใช้ปากปลิดผลกาฝากออกมาจากต้น แล้วขยับบีบให้เนื้อผลกาฝากแยกออกจากเมล็ดกาฝาก
เนื่องจากเมล็ดกาฝากมียางเหนียวๆหุ้มอยู่ จึงติดอยู่ที่ปากของนก ทำให้นกเกิดความรำคาญ ต้องเอาปากไปเช็ดกับกิ่งไม้ที่มันเกาะ จนเมล็ดกาฝากติดอยู่กับกิ่งไม้ แล้วงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นในเวลาต่อมา ถ้าหากไม่มีนกชนิดนี้แล้ว เขตทะเลทรายและกึ่งทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา คงไม่มีต้นกาฝากเป็นแน่ เมื่อดูเผินๆแล้ว ต้นกาฝากเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่มีประโยชน์ แต่ต้นกาฝากในฐานะพืชเบียนช่วยควบคุมต้นไม้ต่างๆ มิให้เจริญเติบโตเร็วเกินไป เดี๋ยวจะแย่งอาหารกันเองและต้องเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด ถ้าหากต้นไม้ต้นใดมีต้นกาฝากเกาะกินอยู่มากจนเหี่ยวเฉาลงเสียบ้าง ต้นไม้ในป่าจะได้ไม่ต้องขึ้นเบียดเสียดกันหนาแน่นมากนัก และมีที่ว่างให้ต้นไม้ต้นอื่นที่แข็งแรงกว่างอกงามขึ้นมาแทนที่ได้ เป็นการควบคุมประชากรกันเองระหว่างพืชในป่าต่างๆ
อย่างไรก็ดี ต้นกาฝากเหล่านี้ใช่ว่าจะไม่มีใครมาคอยควบคุม เพราะตัวหนอนของผีเสื้อหนอนกาฝาก (Jezebel) ใน สกุล Delias ในวงศ์ Pieridae จะคอยกัดกินใบของต้นกาฝากเป็นอาหารอยู่เป็นประจำ ช่วยควบคุมต้นกาฝากมิให้เจริญงอกงามมากเกินไป เป็นการสร้างสมดุลในธรรมชาตินั่นเอง
http://bord.dserver.org
นกกาฝาก นกกาฝากอกสีเลือดหมู
ภาพจาก www.bloggang.com ภาพจาก www.trekkingthai.com
สวัสดีคับครูบุญเชียร ผม ด.ช.ธนพล อำนาจผูก ป.6/5 เลขที่ 1
ตอบลบเรียกง่ายๆ ลูนี่
สวัสดีครับครูบุญเชียร ผม ด.ช.กันตินันท์ ใชยวังเย็น ป.6/5
ตอบลบชื่อ อ๊อฟ อายุ 12 ปี
เกิดวันที่ 12 ตุลาคม 2540
เบอร์โทร08-39450648
สวัสดีครับ ครูบญเชียร
ตอบลบผมชื่ออภิสิทธิ์ อาสาวงค์ เด้อ
โพสเยอะๆหน่อยเด้อ ให้เด็กมีความรู้หน่อย
ขอบคุณหลายๆเด้อ
สวัสดีครับครูบุญเชียร
ตอบลบ"ก้อม้านเหงฮู้เรื่องอารายเยย งง"
งงเต๊กครับงานนี้
ตอบลบผมอ่านไม่รู้เรื่อง ตัวหนังสือมันเยอะ
และอีกอย่าง แมงเม่าอ่านไม่ออกครับ
สวัสดีค่ะครูบุญเชียร ลูกดิฉัน(อ.3)สงสัยเรื่องต้นกาฝากพอดี ครูช่วยให้ดิฉันเข้าใจและอธิบายให้ลูกฟังได้ชัดเจนขึ้นมาก แต่สงสัยว่าต้นกล้วยไม้เป็นกาฝากด้วยไหมค่ะ และทำไมไม่ต้องใช้ดิน หรือไม่ต้องเกาะต้นไม้มันก็โตได้ค่ะ บางคนเรียกว่ารากอากาศหมายความว่างัยค่ะ ช่วยตอบหน่อยค่ะ ขอบคุณ[sojvpwilawan1974@gmail.com
ตอบลบสวัสดีครับครูบุญเชียร ผมอาร์มพัสกร บัวศรีจำได้ไหมอยากให้ครูใส่ความรู้ให้มากขึ้นครับ
ตอบลบสวัสดีค่ะ ครูบุญเชียร หนู ธันวาพร การโสภา ป.6/2 (หัวหน้า)
ตอบลบก็ดีนะค่ะ ให้ความรู้เยอะดี ยาวจังเลยค่ะอ่านเกือบไม่หมด ขอบคุณนะค่ะที่ให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นกาฝาก บายบ่ายค่ะ
555+ป่าน หัวหน้าพูดมากนะ หนู ด.ญ.กรณ์ปรียา 6/2ไงอิอิ
ตอบลบตัวหนังสือเยอะมากคะ หนูอยากดูรูปภาพบ้าง ขี้เกียจอ่านคะแต่ก็ได้ความรู้คะ
ตอบลบขี้เกียจอ่านจังเลยคะ จากด.ญสิริหญิง จุไร เด็กเมืองปาน
ตอบลบครูบุญเชียรครับผมภูดิศ6/3นะครับผมเข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้มากจริงๆ
ตอบลบ@_@! ตัวหนังสือเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อ่าไม่ไหวเลย จากจตุพรห้อง4
ตอบลบI am not sure if you have any questions or need any further information please contact me at the end
ตอบลบThanks
ชีวิตของกูก็เหมือนสัตว์จำพวกนกคุดคูและพืชจำพวกกาฝาก ที่กูเองก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่พ่อน้อง เป็นใคร เกิดมาก็มีแต่เวรกรรมตามติดตัวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าออกเป็นครั้งแรก 👩⚖️✍️🎤🎧👨⚖️
นาย ศิริชัย หลอดศิลป์
※มึงมันเลวชาติชั่ว5こんぁやmwゆmはระยำต่ำช้าสามาร/อีเปรตนรกส่งมาเกิด/ที่จริงกูคิดว่ามึงน่าจะรีบตายห่าไปให้พ้นๆสังคมดีที่สุดแร๊ะ/อยู่ไปก้อรกโลกเปล่าๆพี่ๆ※『』的確四年丌口已經兒 s 入境
ลบ(^^)
ตอบลบ〆のラーメンConfirmed Transactions Per Day 3MFu71LE5WMgX3SMgr48W99xHC1UzYnhLC
ตอบลบThe number of daily confirmed Bitcoin transactions.
Source: blockchain.com
Transactions
※〒々{{※}}
#Hoŋa #ONCEHALLOWEEN2 #Texans #management – #Liceo #Aldea #Educativa #Rapa #Nuinaอัพเดท
ลบ#Isla #DenmarkOpenSuper750 #Pascua
#Región #DEAR_SC_ILOVEU #Valparaíso
#ChilevisionNoticias
ΩΛΕΝΙΟΥ
#δαλακα_μονο ^*^หีเป็นหี&หำก้อเปนหำเช่นกัลลนะเทอเออ Terevaka
Isla de Pascua
Región de Valparaíso
Chile
Λ https://www.google.co.th/maps/place/Terevaka,+Isla+de+Pascua,+Regi%C3%B3n+de+Valpara%C3%ADso,+Chile/@-27.1048058,-109.37723,14z/data=!4m2!3m1!1s0x9947eff4f8bc9de3:0x53ddec3e0ea86ac3)Ω