ทรัพยากรน้ำ
โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
น้ำที่อยู่บนพื้นผิวโลก เมื่อรวมกันแล้วจะมีปริมาณทั้งสิ้น 1,360 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร โดยเป็นน้ำเค็มที่อยู่ในมหาสมุทรถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 หรือประมาณ 37 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นน้ำจืด (ยศ สันตสมบัติ, 2537: ) ซึ่งน้ำจืดส่วนใหญ่ประมาณ 3 ใน 4 เป็นน้ำแข็งอยู่ในบริเวณขั้วโลก แหล่งน้ำจืดได้กระจายอยู่ตามบริเวณต่างๆ บนพื้นโลก ที่สำคัญที่สุด คือ น้ำฝน เมื่อฝนตกลงมาบางส่วนของน้ำฝนจะถูกนำไปใช้โดยพืช บางส่วนจะซึมลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดิน บางส่วนจะเหลือค้างอยู่บนผิวดิน ซึ่งสามารถพบน้ำบนผิวดินได้ในบึง หนอง สระ ทะเลสาบ และแม่น้ำลำธาร (วิริยะ สิริสิงห, 2537:) นักธรณีวิทยาได้ประมาณว่ามีน้ำอยู่ในชั้นใต้ดินประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรในแม่น้ำลำธารและทะเลสาบมีน้ำอยู่ประมาณ 0.126 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (ยศ สันตสมบัติ, 2537: )
ความสำคัญและประโยชน์ของน้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในร่างกาย และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำใน การดำรงชีวิต
1. น้ำสำหรับใช้สอยประจำวัน (Domestic and municipal use)
มนุษย์ต้องการน้ำสะอาดสำหรับดื่มคนละประมาณ 1 ลิตรต่อวัน และยังต้องการน้ำในการหุงหาอาหารและ การชำระ ล้างด้วย ซึ่งเมื่อรวมปริมาณน้ำสำหรับดื่ม หุงหา อาหาร และชำระล้างแล้ว น้ำที่มนุษย์ต้องใช้ภายในครัว เรือนมีปริมาณ 100 ลิตรต่อคนต่อวัน หรือประมาณ 35 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี
2. น้ำจำเป็นสำหรับการผลิตด้านการเกษตรและการผลิตอาหาร (Agricultural and Food production)
ในการปลูกข้าว ผัก และผลไม้ต่างๆ รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ ต่างก็ต้องการใช้น้ำเพื่อให้ได้ผลผลิตมาสนองความต้องการ ของมนุษย์ เช่น การผลิตผัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 3 ลิตร
การผลิตอาหารเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์แต่ละ คนจำเป็นต้องใช้น้ำถึง 300 ตันต่อปี
3. น้ำจำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรม (Manufacture and production)
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องการน้ำ 4,500 ลิตรในการผลิตปูนซีเมนต์
อุตสาหกรรมเหล็กต้องการน้ำ 4.3 ตัน ในการผลิตเหล็ก 1 ตัน
อุตสาหกรรมหนังต้องการน้ำ 50 ตันเพื่อผลิตหนัง 1ตัน
นอกจากนั้นน้ำยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นสื่อกลางในการชำระสิ่งโสโครก (Transportation of waste) เป็นพลังงาน ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Water power) เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) เพื่อการคมนาคมและการขนส่ง (Navigation and transportation)
ปัญหาด้านปริมาณน้ำที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. ปัญหาการขาดแคลนน้ำ (Water Shortage)
การขาดแคลนน้ำเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้ของมนุษย์ โดยเฉพาะเพื่อการอุปโภค บริโภค ในปี พ.ศ.2529 สถาบันทรัพยากรโลก (World Resource Institute) ได้ศึกษาสถานการณ์น้ำของประเทศต่างๆ ประมาณ 100 ประเทศทั่วโลก พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเหล่านี้กำลังเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ (ยศ สันตสมบัติ, 2537: 32 )
สาเหตุสำคัญของปัญหาการขาดแคลนน้ำจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคมากขึ้นการพัฒนาทั้งทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก เช่น สภาวะโลกร้อน (global warming) ทำให้สภาวะขาดแคลนน้ำมีมากขึ้นทรัพยากรน้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบของปัญหาการขาดแคลนน้ำ
การขาดแคลนน้ำนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง และการแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่าง
- ภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม- เมืองกับชนบท- ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเดียวกันและใช้น้ำร่วมกัน โดยเฉพาะเมื่อไม่มีสนธิสัญญาหรือข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
2. ปัญหาน้ำท่วม (Flood)
น้ำท่วมเป็นปัญหาของการมีน้ำมากเกินไปในเขตลุ่มน้ำหรือพื้นที่ต่างๆ จนเกิดอุทกภัย ทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนน้ำท่วมเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากฝนที่ตกในเขตพื้นที่ ลุ่มน้ำมีปริมาณมากและตกติดต่อกันเป็น เวลานาน จนเกิดน้ำไหลบ่ามาตามผิวดินลงสู่ร่องน้ำ ลำธารและแม่น้ำมากกว่าปกติ ซึ่งในขณะที่น้ำปริมาณมากไหลไปตามร่องน้ำ ลำธาร และแม่น้ำ หากลำน้ำตอนใดไม่สามารถรับปริมาณน้ำได้ ย่อมไหลบ่าท่วมล้นเข้าไปในพื้นที่ต่างๆ หรือชุมชนที่ไม่มีระบบ ระบายน้ำที่สมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดฝนตกหนักเป็นเวลานานๆในแต่ละครั้ง มักเป็นปัญหาทำให้เกิดน้ำท่วมขังแล้วทำความเสียหาย แก่พื้นที่เพาะปลูกและทรัพย์สินต่างๆ ได้เสมอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่และความผันแปรของธรรมชาติ ความขาดแคลนพื้นที่ กักเก็บและสำรองน้ำรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเปรียบเสมือนการทำลายเขื่อนธรรมชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่าการกระทำของมนุษย์ เป็นส่วนสำคัญในการทำให้ภาวะการเกิดอุทกภัยมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
ครูไม่มีใครมาแสดงความคิดดิ อิอิ 55555+
ตอบลบ