วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทรัพยากรแร่ธาตุ

ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ คือ ธาตุแท้ หรือสารบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีและมีรูปผลึกที่แน่นอน จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณชนิดของแร่ เราสามารถแบ่งแร่ออกเป็น 3 ชนิด คือ แร่โลหะ แร่อโลหะ และแร่เชื้อเพลิง
1) แร่โลหะ คือ แร่ที่นำมาถลุงก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่
(1) ดีบุก เป็นแร่ที่อยู่ในหินแข็งจำพวกหินแกรนิต มีลักษณะเป็นผลึกแต่อาจเป็นก้อนผิวเป็น เส้นๆ คล้ายไม้ ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีคล้ายน้ำผึ้ง ถ้าไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาลหรือดำ นิยมนำมาทำโลหะผสม ทำภาชนะจำพวกปีบ กระป๋อง นำมาใช้เคลือบหรือชุบแผ่นเหล็ก ทำโลหะบัดกรี ทำเป็นแผ่นสำหรับห่ออาหาร บุหรี่
(2) วุลแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งมีสีน้ำตาลแก่หรือดำ เมื่อถลุงแล้วเรียกว่า “ทังสเตน”มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีจึงนิยมนำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ทำเครื่องเจาะ ตัดและกลึงโลหะ
(3) เหล็ก มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีดำ มีความมันวาวแบบโลหะ เป็นแร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด นิยมใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ และอาวุธ
(4) ตะกั่ว มีลักษณะเป็นเกล็ด เม็ด บางทีเป็นผลึกรูปลูกเต๋า มีสีเทาแก่ออกดำ นิยมนำมาทำลูกกระสุนปืน ทำตัวพิมพ์ ทำโลหะบัดกรี แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
(5) ทองแดง มีลักษณะเป็นของแข็งสีแดง เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นยางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่ายเราใช้ทองแดงมากเป็นอันดับสองรองจากเหล็ก โดยใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ
2) แร่อโลหะ คือ แร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องถลุงแร่อโลหะที่สำคัญได้แก่
(1) ยิปซัม เป็นแร่ที่เกิดขึ้นเป็นชั้นหนา ลักษณะคล้ายหินปูน มีสีขาว ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก
(2) เกลือแกง มี 2 ชนิด คือเกลือสินเธาว์ หรือเกลือหิน ซึ่งเป็นเกลือที่ได้จากดินเค็มและเกลือสมุทรซึ่งได้จากน้ำทะเล
(3) แร่รัตนชาติ ได้แก่ พวกพลอยต่างๆ ส่วนมากจะพบในลานดินที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์
(4)แร่เชื้อเพลิง คือ แร่ที่ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
ประโยชน์แร่
1. ประโยชน์ทางด้านความมั่นคง และมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม
2. ประโยชน์ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์นำแร่ธาตุต่าง ๆ มาสร้างขึ้นเป็นภาชนะใช้สอยพาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า
3. ประโยชน์ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค
นอกจากนี้ แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติลักษณะต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี่ รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีลักษณะสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย
ปัญหาทรัพยากรแร่
1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระมีหลุมบ่อมากมายจึงถูกปล่อยทิ้งใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
2. ปัญหาการใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็กถูกนำมาใช้มากและแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ฯลฯ
3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่ พวกแร่ที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ ยังสามารถนำกลับไปใช้อีก เช่น เหล็ก ส่วนแร่ที่นำไปใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่า และประหยัด
การอนุรักษ์แร่ธาตุ
ดังได้กล่าวมาแล้วถึงทรัพยากรแร่ธาตุในปัจจุบันซึ่งกำลังประสบปัญหาหากไม่มีการป้องกันแก้ไข ดังนั้นการอนุรักษ์แร่ธาตุจึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยได้ดังต่อไปนี้
1. การใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด ในการทำเหมืองแร่บางอย่างนั้นบางทีทรัพยากรแร่ธาตุที่ได้มาอาจมีหลายชนิด ดังนั้นจึงควรจะพยายามใช้ให้คุ้มค่าทุกชนิด อย่างประหยัดและลดการสูญเปล่า
2. การสำรวจแหล่งแร่ ควรมีการเร่งรัดการสำรวจทรัพยากรแร่ธาตุให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
3. การใช้แร่ชนิดอื่นทดแทน พยายามหาแร่ธาตุอื่น ๆ มาใช้ทดแทนแร่ที่ใช้กันมาก อาทิการใช้อลูมิเนียมแทนเหล็ก
4. นำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ควรมีการนำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก อาทิ ภาชนะเครื่องใช้ที่เป็นอลูมิเนียมบางอย่างที่หมดสภาพการใช้แล้วสามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้อีก
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่
โดยทั่วไปการทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2 ประการ ดังนี้
1. ผลกระทบที่เกิดจากตัวแร่ (Indigenous effects) ปกติแล้วแร่ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์จะอยู่ภายใต้เปลือกโลกในรูปของสารประกอบ เมื่อมีการทำเหมืองแร่เพื่อนำแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้ ในสายแร่บางชนิด เช่น ตะกั่ว สังกะสี มังกานีส โครเมี่ยม ขณะที่ทำการขุดแร่เหล่านี้อาจปะปนลงในแหล่งน้ำในแหล่งดิน ซึ่งพืชที่กำลังเจริญเติบโตอยู่นั้นเกิดการสะสมแร่ธาตุดังกล่าว จนสามารถถ่ายทอดมายังคนโดยตรงหรือการห่วงโซ่อาหาร เช่น การทำเหมืองแร่ปรอท ทำให้คนงานและสิ่งมีชีวิตในบริเวณเหมืองและพื้นที่ใกล้เคียงได้รับสารพิษไปด้วย
2. ผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการ ( Operation effects ) เหมืองแร่ทุกชนิดทุกประเภทจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิ่งแวดล้อมอันมีสาเหตุมาจากการดำเนินการ เช่น การเปิดหน้าดินก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลาย น้ำขุ่นข้นในทะเลบริเวณใกล้เคียงกับการขุดแร่ในทะเล เป็นต้น การทำเหมืองแร่จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น เนื่องจากมีผลกระทบต่อทรัพยากรต่อไปนี้ ทรัพยากรดิน การทำเหมืองแร่จำเป็นต้องมีการขุดระเบิดหรือฉีดน้ำ เพื่อนำแร่ซึ่งมักอยู่ใต้ดินออกมา ดินที่เกิดจากการทำเหมืองแร่จะไหลลงไปพร้อมกับน้ำลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้ดินเกิดความสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ดินที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว จึงขาดความอุดมสมบูรณ์อย่างเด่นชัด นอกจากนี้พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้วจะเป็นหลุม เป็นบ่อ ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทรัพยากรน้ำ และสัตว์น้ำ เนื่องจากน้ำขุ่นข้นจากการฉีดน้ำแยกแร่ออกจากดินหรือโคลน เกิดจากการแพร่กระจายออกไป หากเป็นพื้นที่ในทะเลตะกอนขุ่นข้นจะกระจายไปตามอิทธิพลของกระแสน้ำ คลื่น และลม ซึ่งยากแก่การควบคุม ทำให้คุณภาพของน้ำทะเลเสียหาย นอกจากนี้ยังทำน้ำน้ำธรรมชาติเกิดการตื้นเขินมีผลต่อสัตว์น้ำ คือ ทำลายแหล่งวางไข่ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย ทรัพยากรป่าไม้ การทำลายทรัพยากรป่าไม้ เพื่อความสะดวกคล่องตัว ตั้งแต่สำรวจจนกระทั่งขุดเจาะได้แล้วนำไปส่งยังผู้รับซื้อ ป่าจะถูกถากถางเพื่อการสำรวจ เมื่อพบแร่แล้วป่าจะถูกทำลายอย่างถาวร ทรัพยากรอากาศ การทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเหมืองบนบกจะต้องมีการระเบิด ทุบ บด หรือป่นหิน การขนส่งเลียงลำเลียงแร่จากเหมืองแร่ทำให้เกิดฝุ่นละอองมาก ฝุ่นเหล่านี้กระจายและถูกพัดพาไปในอากาศ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชที่อยู่ใกล้เคียงได้

19 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2552 เวลา 06:08

    มันงงจังยาวเป็นกิโลไม่รู้เรื่องเลย

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2552 เวลา 01:37

    อึแมงเม่าก็ไช่แร่ธาตุป่าวครับ
    เพราะมันมีกลิ่นตุๆๆ
    เหมือนธา ตุ

    ตอบลบ
  3. ได้ข่าวว่าอีไส้เดือนมันอยู่ในดินถ้าอย่างนั้นมันก็ได้แร่ธาตุจากดินด้วยหรือเปล่าาคะเจ๊/ป๋า ตอบด้วยนะคะ I Love You

    ตอบลบ
  4. แร่มังกานีส สนใจโทร02-5555555

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2553 เวลา 19:55

    ดิชั้นรักซีที่สุด

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2553 เวลา 04:32

    เซ็งโว้ย...............................................................................................................

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ25 กันยายน 2553 เวลา 02:19

    ฟาง
    โคตรงงเลยคร้า

    ตอบลบ
  8. ทำงั้ยดี
    แบบทดสอบของแร่
    หาไม่เจอ

    ตอบลบ
  9. อ่าน เเร้วก็หนุกดีมั้ง...ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่เรา
    ควรรู้กันเอาไว้ว่าถ้าวันหนึ่ง เเร่ธาตุพวกนี้หมดไปจะทำอย่างไรกัน!!!!

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2554 เวลา 04:13

    ยาววปัยป่าววค๊
    อ่านไม่รู้เรื่องเรยอ่ะค่

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ4 กันยายน 2555 เวลา 06:33

    มีความรู้ดี

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2555 เวลา 03:10

    ขอบคุณนะครับที่ทำให้ผมมีงานส่งอาจารณ์...

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2555 เวลา 03:12

    ถ้าย่อให้หน่อยคงดีกว่านี้...นะครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2555 เวลา 08:27

    สาระดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  15. ไม่มีข้อเสียเลย

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2558 เวลา 02:07

    ธรรมชาติทำลายแร่ธาตุอย่างไรบ้างอะ

    ตอบลบ
  17. ผมอยากรู้การใช้แร่ในอดีตกับปัจจุบันว่าแตกต่างมากแค่ใหน(ทําการบ้านส่งอาจารณ์)

    ตอบลบ